การส่งเสริมและยกระดับวิชาชีพครู
        การส่งเสริมและพัฒนาครู
          มีปัญหาหลายประการของการจัดการศึกษาของไทยที่เป็นสาเหตุทำให้ต้องมีการปฏิรูปการศึกษาอย่างขนาน
ใหญ่ ปัญหาสำคัญประการหนึ่ง คือ ปัญหาเกี่ยวกับครู  และบุคลากรทางการศึกษา  ซึ่งมีปัญหาตั้งแต่การผลิต การใช้
การพัฒนา  และการรักษามาตรฐานของวิชาชีพครู รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2540 มาตรา 81 จึง กำหนดบทบัญญัติให้มีการ พัฒนาวิชาชีพครู ไว้ด้วย และในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  .. 2542 มาตรา 9 (4) ก็ได้กำหนดบทบัญญัติให้มีหลักการส่งเสริมมาตรฐาน วิชาชีพครู คณาจารย์  และบุคลากรทางการศึกษา  และการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง  นับเป็นหลักการและเหตุผลสำคัญในการกำหนดแนวทาง พัฒนาวิชาชีพครู ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษา
 แนวทางการส่งเสริมและยกระดับวิชาชีพครู
           การพัฒนาศักยภาพและสมรรถภาพของครูให้เป็นครูที่ดีและประสบความสำเร็จในวิชาชีพครูอาจดำเนินการได้อย่างน้อย 3 ทางคือ
            1. การพัฒนาศักยภาพและสมรรถภาพตนเองของครู เช่น  การฝึกอบรมการปฏิบัติงาน  การประชุมทางวิชาการ  การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยน
เรียนรู้ร่วมกัน
  การช่วยเหลือเพื่อนครูในการทำงาน  การเสนอรายงานพัฒนาผู้เรียนและกิจกรรมอื่นๆซึ่งเป็นการฝึกฝนที่ครูเลือกปฏิบัติด้วยตนเองตามศักยภาพ จุดเด่นจุดด้อยและโอกาสของตน
             2. การพัฒนาศักยภาพและสมรรถภาพของครูโดยสถานศึกษา   เป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคคลอย่างเป็นกระบวนการและเป็นระบบ 
มีกิจกรรมต่างๆ
  เช่น  การส่งเสริมให้ไปศึกษาอบรม  ดูงานสาขาวิชาที่ปฏิบัติงานอยู่  สนับสนุนให้ไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น  ให้ทุนการ
วิจัยให้ไปเป็นวิทยากรในหน่วยงานอื่น
  การแลกเปลี่ยนบุคลากร  ส่งเสริมการเขียนตำรา  สนับสนุนให้เป็นสมาชิกขององค์กรวิชาชีพทั้งใน
และต่างประเทศ
  และอนุญาตให้ไปปฏิบัติงานด้านวิชาการโดยไม่ถือว่าเป็นการลา  เหล่านี้ เป็นต้น
             3. การพัฒนาศักยภาพและสมรรถภาพของครูโดยหน่วยงานกลาง  อาจเป็นหน่วยงานต้นสังกัดการบริหารบุคคล  เช่น  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือหน่วยงานอื่น  ของกระทรวงศึกษาธิการ  กระทรวงมหาดไทย  เป็นต้น  ที่มีการพัฒนาทุกด้านอย่างต่อเนื่อง  และการพัฒนาโดยองค์กรวิชาชีพคือ คุรุสภา  เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานแห่งวิชาชีพครูและการถือครองใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพครูอีกด้วย  นอกจากนั้นอาจมีการพัฒนาโดยองค์กร   ชมรม  สมาคมหรือกลุ่มวิชาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพรวมตัวกันเพื่อดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายอย่างเพื่อผลประโยชน์แห่งวิชาชีพครูของพวกตนทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
              สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ได้สรุปว่า การพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อยกระดับคุณภาพครูสู่มาตรฐานวิชาชีพควรเป็นการพัฒนาที่ครูได้ฝึกฝนตนเองในสภาวะของการปฏิบัติงานปกติ   สร้างโอกาสให้ครูได้ทำกิจกรรมตามความถนัด  ความสนใจ  ด้วยวิธีการต่างๆหลากหลายครูจะแสดงบทบาทในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะต่างๆ  แตกต่างกันตามระดับคุณภาพมาตรฐานวิชาชีพ  ซึ่งสามารถวิเคราะห์การแสดงออกของครูใน 3 มิติ ดังนี้
มิติที่ 1 ระดับฝีมือของครู  เป็นระดับคุณภาพในการดำเนินงานการจัดทำแผนการสอนการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ครูนำมาใช้
โดยมีระดับฝีมือที่กำหนดคุณภาพไว้กว้าง
 3 ระดับ คือ
                                คุณภาพระดับต่ำ เป็นการปฏิบัติตามแบบตามตัวอย่างที่ผู้อื่นกำหนดไว้หรือปฏิบัติให้เห็นแล้วนำมาใช้โดยไม่คำนึงถึงบริบทอื่น
                                คุณภาพระดับกลาง เป็นการปฏิบัติที่ครูพัฒนาขึ้นเองสอดคล้องกับผู้เรียนท้องถิ่นศักยภาพและความถนัดของครู
                                คุณภาพระดับสูง เป็นการปฏิบัติที่มีความชำนาญแตกฉานจนสามารถเป็นผู้แนะนำช่วยเหลือ  เป็นแบบอย่างหรือเป็นที่ปรึกษาร่วมพัฒนาให้กับครูคนอื่นๆได้
มิติที่ 2 การเพิ่มบทบาทของผู้เรียน
                                เป็นการพัฒนาผู้เรียนจากความสามารถขั้นต่ำไปสู่ความสามารถขั้นสูง  จากผู้เรียนอธิบายด้วยตนเองสู่ผู้เรียนออกแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองสู่ผู้เรียนสร้างความรู้ได้เองเป็นการพัฒนาคุณภาพสูงขึ้นโดยกิจกรรมการเรียนรู้ที่ครูแสดงออก ครูจะต้องเป็นผู้นำทาง โดยการจัดขั้นตอนของกิจกรรมเป็นลำดับ นำไปสู่การคิดได้เอง และการสร้างความรู้ได้เอง
                มิติที่ 3 ผลที่เกิดกับผู้เรียน
                                 นักเรียนจะต้องได้รับการพัฒนาความสามารถจากความจำ สู่ ความคิด  สู่ การกระทำ สู่ ค่านิยม  และสู่การปฏิบัติเป็นนิสัยติดตัวด้วยค่านิยมที่พึงประสงค์จึงจะเป็นผลผลิตของครูมืออาชีพที่มีคุณภาพระดับสูง
             ขอบข่ายสาระของการพัฒนาครูจึงกำหนดแนวทางพัฒนาครูโดยเริ่มจากฝึกฝนตนเองของครู  การแสดงออกของครูและผลที่เกิดกับนักเรียน
              การพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพครูมืออาชีพนั้นจะต้องได้รับการพัฒนาปรับปรุงด้วยตัวเองมาเป็นลำดับ โดยผู้บังคับบัญชาได้เสนอวิธีการพัฒนาตนเองบางประการเพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จ  เช่น ฝึกตนเองให้ตรงต่อเวลา ทุกคนมีเวลาเท่ากัน ผู้ที่บริหารเวลาเก่งจะต้องยึดมั่นในหลักการพื้นฐาน  ได้แก่  มีความกระตือรือร้นและมีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาไม่ผัดวันประกันพรุ่งในการทำงานทุกประเภททั้งงานเล็กงานใหญ่ ให้ความสำคัญเท่าเทียมกันเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ  เป็นคนขยันขันแข็ง เป็นคนทำงานรวดเร็วลักษณะคนทำงานรวดเร็ว  ฝึกตนให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง  ทำให้ตนเป็นที่ต้องใจของผู้อื่น ทำตนให้รู้จักกาลเทศะ  และทำให้ตนเองเป็นที่น่าเชื่อถือ

เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู

ในปี พ.ศ.2533 คุรุสภาได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูขึ้น ประกอบด้วยเกณฑ์ 4 ด้าน คือรอบรู้ สอนดี มีคุณธรรมจรรยาบรรณ มุ่งมั่นพัฒนา แต่เนื่องจากเกณฑ์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นนามธรรม ยากแก่การปฏิบัติและการประเมินในปี พ.ศ.2537 คุรุสภาได้พัฒนาเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูเป็น 11 ด้าน และต่อมา พ.ศ.2539 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้เป็น เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
1.ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
2.ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียน
3.มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนเต็มศักยภาพ
4.พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
5.พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
6.จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
7.รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
8.ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
9.ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
10.ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน
11.แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
อยากให้ ครู ทุกท่านสำรวจตัวเองและปรับปรุงเพื่อให้มีคุณสมบัติของครูตามเกณฑ์มาตรฐานข้างต้น และถ้าครูมีมาตรฐานแล้ว ลูกศิษย์ซึ่งจะเป็นอนาคตของชาตินั้น ก็จะเป็นอนาคตที่พึงปรารถนา เป็นอนาคตที่สามารถฝากความหวังของประเทศชาติไว้ได้อย่างแน่นอน 
อ้างอิง